วันจันทร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

พื้นฐานการสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย

ความหมายของการสื่อสารข้อมูล
การติดต่อสื่อสารเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นควบคู่มากับมนุษย์ เนื่องจากมนุษย์ต้องอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน โดยมนุษย์ใช้ภาษาเป็นสื่อในการส่งข้อมูล แลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน โดยมีอากาศเป็นตัวกลาง ซึ่งในภาษาที่มนุษย์ใช้สื่อสารกันนั้น จะต้องมีข้อตกลงกันว่าแต่ละสัญลักษณ์ หรือคำพูด แทนหรือหมายถึงสิ่งใด มนุษย์ได้คิดค้นวิธีการและเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกันมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว ยกตัวอย่างเช่น การใช้สัญญาณควันไฟของชาวอินเดียแดง หรือการใช้ม้าเร็วในการส่งสาส์น จนกระทั่งพัฒนามาเป็นการใช้โทรเลข วิทยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์ และอินเทอร์เน็ต
     ความหมายของการสื่อสารข้อมูล เกิดจากคำสองคำ คือ การสื่อสาร (Communication) ซึ่งหมายถึง การส่งเนื้อหาจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง และคำว่าข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่ถือหรือยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริงสำหรับใช้เป็นหลักอนุมานหาความจริงหรือการคำนวณ [17] ซึ่งในที่นี้เราจะหมายถึงข้อมูลที่เกิดขึ้นจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในรูปตัวเลข 0 หรือ 1 ต่อเนื่องกันไป ซึ่งเป็นค่าที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจ นั่นคือ การสื่อสารข้อมูล หมายถึง การส่งเนื้อหาที่อยู่ในรูปตัวเลขฐานสองที่เกิดจากอุปกรณ์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป โดยมีจุดประสงค์เพื่อต้องการติดต่อ แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนแบ่งปันการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดhttp://www.il.mahidol.ac.th/e-media/computer/network/net_objective.htm


องค์ประกอบในการสื่อสาร
1.  ผู้ส่งสาร (sender) หรือ แหล่งสาร (source) หมายถึง บุคคล กลุ่มบุคคล หรือ หน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการส่งสาร หรือเป็นแหล่งกำเนิดสาร ที่เป็นผู้เริ่มต้นส่งสารด้วยการแปลสารนั้นให้อยู่ในรูปของสัญลักษณ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นแทนความคิด ได้แก่ ภาษาและอากัปกิริยาต่าง ๆ เพื่อสื่อสารความคิด  ความรู้สึก ข่าวสาร ความต้องการและวัตถุประสงค์ของตนไปยังผู้รับสารด้วยวิธีการใด ๆ หรือส่งผ่านช่องทางใดก็ตาม   จะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม    เช่น  ผู้พูด  ผู้เขียน  กวี  ศิลปิน นักจัดรายการวิทยุ  โฆษกรัฐบาล  องค์การ  สถาบัน  สถานีวิทยุกระจายเสียง  สถานีวิทยุโทรทัศน์   กองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์  หน่วยงานของรัฐ  บริษัท  สถาบันสื่อมวลชน  เป็นต้น
2.  สาร (message) หมายถึง  เรื่องราวที่มีความหมาย หรือสิ่งต่าง ๆ ที่อาจอยู่ในรูปของข้อมูล ความรู้ ความคิด ความต้องการ อารมณ์ ฯลฯ   ซึ่งถ่ายทอดจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสารให้ได้รับรู้ และแสดงออกมาโดยอาศัยภาษาหรือสัญลักษณ์ใด ๆ  ที่สามารถทำให้เกิดการรับรู้ร่วมกันได้  เช่น  ข้อความที่พูด   ข้อความที่เขียน   บทเพลงที่ร้อง  รูปที่วาด  เรื่องราวที่อ่าน  ท่าทางที่สื่อความหมาย  เป็นต้น
3.  สื่อ หรือช่องทาง (media or channel) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งในการสื่อสาร  หมายถึง  สิ่งที่เป็นพาหนะของสาร  ทำหน้าที่นำสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร   ผู้ส่งสารต้องอาศัยสื่อหรือช่องทางทำหน้าที่นำสารไปสู่ผู้รับสาร    
การแบ่งประเภทของสื่อมีหลากหลายต่างกันออกไป
4.  ผู้รับสาร (receiver)  หมายถึง บุคคล กลุ่มบุคคล หรือมวลชนที่รับเรื่องราวข่าวสาร 
จากผู้ส่งสาร   และแสดงปฏิกิริยาตอบกลับ (Feedback) ต่อผู้ส่งสาร  หรือส่งสารต่อไปถึงผู้รับสารคนอื่น ๆ ตามจุดมุ่งหมายของผู้ส่งสาร   เช่น   ผู้เข้าร่วมประชุม   ผู้ฟังรายการวิทยุ   กลุ่มผู้ฟังการอภิปราย  ผู้อ่านบทความจากหนังสือพิมพ์http://www.ipesp.ac.th/learning/thai/chapter1-2.html



รูปแบบการส่งสัญญาณ
1. แบบทิศทางเดียวหรือซิมเพล็กซ์ (One-Way หรือ Simplex)     ในการส่งสัญญาณข้อมูล แบบซิมเพล็กซ์ข้อมูลจะถูกส่งไปในทิศทางเดียว เท่านั้นหมายถึงว่าผู้ส่ง สามารถส่งข้อมูลหรือข่าวสารไปให้แก่ผู้รับได้เพียง ฝ่ายเดียว ส่วนผู้รับไม่สามารถจะโต้ตอบกลับไปได้ ตัวอย่างเช่น การกระจาย เสียงของสถานีวิทยุ หรือการแพร่ภาพทางโทรทัศน์
2. แบบกึ่งทางคู่หรือครึ่งเพล็กซ์ (Either-Way of Two Ways หรือ Half Duplex)
    การสื่อสารแบบครึ่งดูเพล็กซ์ เราสามารถส่งข้อมูลสวนทางกันได้แต่ต้องสลับ กันส่งจะทำในเวลาเดียวกันไม่ได้ ตัวอย่างเช่นวิทยุสื่อสาร ของตำรวจแบบ วอล์กกี้- ทอล์กกี้ ซึ่งต้อง อาศัยการสลับสวิตช์ เพื่อแสดงการเป็นผู้ส่งสัญญาณ และให้ทาง อีกด้านหนึ่งเป็นผู้รับสัญญาณคือต้องผลัดกันพูด บางครั้งเราเรียก การสื่อแบบ ครึ่งดูเพล็กช์ว่า แบบสายคู่ (Two-Wire Line)
3. แบบทางคู่หรือดูเพล็กซ์เต็ม (Both-way หรือ Full-Duplex)     ในแบบนี้เราสามารถส่ง ข้อมูลได้พร้อม ๆ กันทั้งสอง ทาง ตัวอย่างเช่น ในการพูด โทรศัพท์ ท่าน สามารถพูด พร้อมกันกับคู่สนทนาได้ (เช่น ในกรณี แย่งกันพูดหรือ ทะเลาะ กัน) การทำงานจะเป็นดู เพล็กซ์เต็ม แต่ในการใช้งาน จริง ๆ แล้วจะเป็น แบบครึ่งดูเพล็กซ์คือผลัดกันพูด ดังนั้น โทรศัพท์จึงเป็น อุปกรณ์แบบดูเพล็กซ์เต็ม ที่มีการใช้งานแบบครึ่งดูเพล็กซ์บางครั้งเราเรียก การสื่อสารแบบดูเพล็กซ์ เต็มว่า Four-Wire Lineประโยชน์การใช้งานของการ ส่งสัญญาณ แบบดูเพล็กซ์เต็มย่อมให้ประโยชน์ใช้สอยได้ดีกว่ารวมทั้งลด เวลาในการส่งสัญญาณ เพื่อสลับการเป็นผู้ส่งในแบบครึ่งดูเพล็กซ์อย่างไร ก็ตามค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและอุปกรณ์ของระบบการส่ง สัญญาณแบบ ดูเพล็กซ์เต็มย่อมแพงกว่าและยุ่งยากกว่าเช่นกัน
4. แบบสะท้อนสัญญาณหรือเอ็กโคเพล็กซ์ (Echo-Plex)     บางคนใช้คำว่าครึ่งดูเพล็กซ์ หรือดูเพล็กซ์เต็มมาอธิบายความสัมพันธ์ ระหว่างคีย์บอร์ด และจอภาพ ของเทอร์มินัลของเมนเฟรมหรือโฮสต์ คอมพิวเตอร์ ซึ่งที่จริงแล้วควรใช้คำว่า เอ็กโคเพล็กซ์มากกว่าในระหว่าง การคีย์ข้อความ หรือคำสั่งที่คีย์บอร์ดเพื่อให้โฮสต์คอมพิวเตอร์ รับข้อความ หรือ ทำตามคำสั่ง ข้อความหรือ คำสั่งก็จะปรากฏขึ้นที่ จอภาพของเทอร์มินัล ด้วยเช่นกัน เนื่องจากขณะที่สัญญาณตัวอักขระที่ถูกส่งจากคีย์บอร์ดไปยัง โฮลต์ ซึ่งเป็น แบบดูเพล็กซ์เต็มจะถูกสะท้อนสัญญาณให้กลับมาปรากฏ ที่จอภาพของเทอร์มินัลเองด้วย ทำให้ผู้ใช้สามารถรู้สึกไป พร้อม ๆ กันกับ ที่โฮลต์ทำงาน
https://sites.google.com/site/53sorakom/chapter1/c2

นางสาว อริสา คล้ายเคลื่อน   แผนกคอมพิวเตอร์ธุรกิจ  ปวช2/2








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การประยุกต์ใช้งานเครื่อข่ายในการปฏิบัติงานขององค์กร การใช้งานเครื่อข่ายแลนในการปฏิบัติงานขององค์กร การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเค...